Solid-Liquid Suspension#2


Home

>

Training

>

Solid-Liquid Suspension#2

471 views

-

Solid-Liquid Suspension#2

Zwietering Criteria

..."Solid-liquid suspension ให้ความสำคัญกับการหาค่าความเร็วเริ่มมีการกระจายตัว (Just suspension speed, Njs) หากพิจารณาสมการการหาค่า Njs จะพบตัวแปรตัวหนึ่ง คือ ตัวแปร S เรียกกันว่า Zwietering Criteria เป็นค่าคงที่ ที่มีความสัมพันธ์ของตัวแปรไร้หน่วยซึ่งได้จากการสังเกตการทดลองของ Zwietering โดย

Re คือ Reynolds number
Fr คือ Froude number
D คือ Diameter of Impeller
dp คือ Particle size of solid
X คือ ZWEITERING Mass Ratio

ผู้เขียนจะค่อยๆไล่ทีละตัวครับ ไล่ไปก็มึนๆงงๆ เอาตรงๆก็คือ ว่าปกติผู้เขียนจะมองภาพงานด้าน Fluid Mixing ในเชิงการนำไปใช้งานจริง และ มักจะตัดสมการที่มองว่าไม่จำเป็น หรือ ตัวแปรที่คิดว่าไม่จำเป็นออก เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาออกแบบ (ออกแบบเพื่อสร้างงานจริง) ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทิ้งรากฐานของทฤษฎีไปด้วย, จากตารางจะพบว่าค่า S จะมีค่าแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของใบกวน, ขึ้นกับสัดส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางใบกวนต่อเส้นผ่านศูนย์กลางถัง, ขึ้นกับสัดส่วนระยะห่างใบกวนต่อเส้นผ่านศูนย์กลางถัง ซึ่งทั้งหมดได้มาจากการทดลอง และ การทดลองก็จะมีความสัมพันธ์คงที่ (เลขยกกำลังต่างๆในสมการ) โดยการนำค่า S มาใช้นั้นต้องระวังครับ เนื่องจากเราไม่ทราบพารามิเตอร์อีกหลายส่วนของการทดลอง เช่น จำนวนของ Blades, มุมเอียงของใบกวน, หน้ากว้างของใบกวน, ความโค้ง, การลด gredient ของความกว้าง ฯลฯ หากนำมาใช้เลย เราก็จะได้เพียง --> [ตัวเลขจากการแทนค่าสมการ] และ เมื่อนำไปใช้จริงก็ต้องไปเดาสุ่มกันอีกทีว่าจะผลิตใบกวนออกมาในลักษณะใด, มาถึงตรงนี้อยากให้มองในลักษณะของการใช้งานจริงครับ

พิจารณาตัวแปรแรกก่อน คือ X (ZWEITERING Mass Ratio) โดย
C คือ Solid Concentration
ps คือ Particle Density
pL คือ Liquid density
เมื่อพิจารณาหน่วยของทั้ง 3 ตัวแปร คือ kg/m^3 จากสมการทำให้ X เป็นตัวแปรไร้หน่วย

เมื่อหาค่า X ออกมาได้แล้วจากสมการ Njs ต้องนำ S ไปยกกำลัง 0.13 ตรงนี้ผู้เขียนเองก็ไม่ทราบจริงๆว่าทำไมต้องยกกำลัง 0.13 แต่เพื่อให้ทุกอย่างราบรื่น ก็ยกกำลัง 0.13 ตามสมการไปก่อนครับ ให้ถือว่าให้เกียรติ ZWEITERING และ ไม่เสียหายอะไรที่จะนำมาใช้เพื่อพิจารณาความถูกต้องของงานจริงๆต่อไป

ผู้เขียนให้ข้อสังเกตเหมือนเดิมครับว่าการแทนค่าเพื่อหา X ต้องอยู่ในกรอบของแนวทางการทดสอบของ ZWEITERING ด้วยครับอย่างน้อยที่ต้องพิจารณาคือ Solid<10%, ความปั่นป่วนควรอยู่ในเกณฑ์ turbulence ซึ่งจริงๆมันจะคลุมเคลือไปหมด กล่าวคือ turbulence ระดับไหน มี Re มากกว่าเท่าไหร่อีก, Viscosity เท่าไหร่ เยอะเยะมากมายกับคำถามครับ ถึงตรงนี้ แค่ไม่อยากให้นำไปใช้โดยที่ไม่ได้ตรองอะไรแค่นั้นเองครับ..."

สถาพร เลี้ยงศิริกูล




Blogs

-

High Shear Mixer_Ep.4

อ้างอิงจาก The Effect of Stator Geometry on the Flow Pattern and Energy Dissipation Rate in a Rotor-Stator Mixer / A.Utomo, M.Baker, A.W.Pacek / 2009, ขอแสดงทัศนะให้สอดคล้องจาก Ep ที่ผ่านมาที่ว่าด้วย du/dr ครับ อ้างอิงจากผู้วิจัย ได้ทำการใช้ CFD ในเพื่อศึกษา Vector ของความเร็ว ซึ่งจากรูปจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของภาวะของระบบ (ความเร็ว) นั้นบ่งบอกถึงทิศทางและขนาดของภาวะ โดยมี Max.Velocity 6m/sec (จริงๆน้อยนะครับ) แต่ใช้ค่า Max-Min ศึกษาได้, กล่าวคือ Head ของ Stator ที่เป็นรูใหญ่จะสร้าง Velocity Drop น้อย และ รูแบบ Slot, รูแบบเล็ก ตามลำดับ นั่นแสดงว่า Shear Rate ของ Head ที่มีรูขนาดเล็กให้ du ที่มีค่ามากที่สุด (ตัด dr ออกเนื่องด้วย Gab ของ Rotor-Stator จาก CFD มีค่าเท่ากัน) นั่นคือ รูขนาดเล็กสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบในลักษณะ Emulsion ได้ดีที่สุด สอดคล้องกับสมการที่เคยกล่าวมา แต่....จาก Vector ของความเร็วจะเห็นได้ว่า Stator Head ของรูขนาดเล็กก็ทำให้เกิด Dead Zone of Mixing ได้ง่ายเช่นกัน ตรงนี้บ่งบอกอะไร บ่งบอกว่าการเลือกใช้งานสัดส่วน d/D ของ Rotor-Stator นั่นไม่เหมาะกับถังขนาดใหญ่ หรือ หากต้องการใช้ก็จำเป็นต้องมีเครื่องกวนอีกประเภทที่สามารถขจัด Dead Zone of Mixing ได้ ในลักษณะของ Scraper นั่นเองครับ การทำ CFD มีวัตถุประสงค์และประโยชน์ประมาณนี้เลยครับ แต่มักจะเข้าใจผิดกันว่า CFD คือ สิ่งที่สามารถบอก Mixing Time ได้, บอกกำลังของต้นกำลังได้ ไม่ใช่แบบนั้นครับ ปริมาณในเชิง Scalar ต้องคำนวณครับ, ส่วนปริมาณเชิง Vactor ก็เหมาะกับการทำ Simulation และ ในงานของ Fluid Mixing เราจะใช้ CFD ในการดูแนวโน้มของ Flow Pattern ของใบกวนมากที่สุด (เน้นบริเวณใกล้ๆใบกวนด้วยครับ)

Next
-

High Shear Mixer_Ep.3

Ep ก่อนหน้าได้แสดงทัศนะว่า du ส่งผลให้ Shear Rate สูงขึ้นได้อย่างไร ในทำนองเดียวกันคือ dr คือ พื้นที่ช่องว่าระหว่าง Rotorกับ Stator ยิ่งเล็กก็ยิ่งทำให้ Shear Rate สูงขึ้นไปอีก ดังจะเห็นว่า Gab ของ Rotor-Stator นั่นจะมีขนาดเล็กมากนั่นเองครับ แต่จะเล็กเท่าไหร่นั่นไม่มีใครตอบได้ครับ คงต้องออกแบบและทดสอบกับของเหลวนั่นๆมากกว่า เพราะมีอีกปลายปัจจัยที่ส่งผลเอื้อหรือไม่เอื้อต่อ Gab ที่ขนาดเล็ก เช่น Viscosity, Particle Size, %Solid เป็นต้น, ก่อนจะไปเรื่องอื่น อยากชวนกลับมาที่ Impeller Types ที่ให้ Flow Pattern แบบ  Mixed Flow (Tangential Flow)  และ Axial Flow ตามรูปที่ผมได้ทำการทดสอบนะครับ จะเห็นว่าสองรูปทางซ้ายจะมีสามารถเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างมวลของน้ำมันได้เลย แต่ สองรูปทางขวาจะมีแรงเอาชนะได้ (จากการทดสอบใช้ Tip Speed Const.@4.0m/Sec) เหตุผลเนื่องจากใบกวน จะมีสัดส่วนของ Axial 30% Radial 10% Tangential 60% และ Axial 100% Radial 0% Tangential 0% ตามลำดับครับ เนื่องด้วย Shear Rate ไม่มากพอจะทำให้อนุภาคของของเหลวย่อยลงและแยกออกจากกันได้ทำให้ไม่เหมาะกับงานลักษณะ High Shear Mixer ด้วยเช่นกัน การอ้างอิงค่า Local energy dissipation หรือ P/V ของเครื่องกวนในลักษณะ High Shear Mixer กับ เครื่องกวนประเภทอื่นๆว่ากี่เท่านั้น โดยทัศนะผมแล้วไม่ควรนำมาเปรียบเทียบอะไรกันเลยครับ เพราะมันมีจุดประสงค์ที่ต่างกันการเทียบแบบนั้นไม่มีประโยชน์และไม่สามารถนำค่าเทียบเคียงมาใช้งานอะไรได้เลยด้วยซ้ำ การนำสมการ Power Absorb มาใช้ก็ต้องระวังมาก (P = Np*Density*Speed^3^d^5) เนื่องด้วยเป็นสมการพื้นฐานของใบกวนแบบที่ใช้งานในกรอบอ้างอิงที่ใหญ่กว่า High Shear Mixer กล่าวคือ กรอบอ้างอิงคือถัง แต่กรอบอ้างอิงของ High Shear Mixer คือ Stator นั่นทำให้การพิจารณาการเปลี่ยนแปลงภาวะของของเหลว (ความเร็ว) นั่นต่างกัน พูดกันตรงไปตรงมาคือ งาน High Shear Mixer อยู่ที่การอ้างอิง Use Case มากกว่า, อีกประเด็นคือ สมการ P = Np*Density*Speed^3^d^5 เราจะใช้ Np (Power Number) ของใบกวนชนิดไหนดีอีก เพราะโดยปกติแล้วกราฟความสัมพันธ์ RE vs Np นั่นมาจากการทดลองที่ไม่มีลักษณะใบกวนแบบ Rotor-Stator เลย (ไม่เอา Radial Impeller มานะครับ คนละชนิดใบกันเพียงแต่ให้ Flow Pattern ในลักษณะ Radial เหมือนกันแค่นั้นเอง)  Ep นี้ขอจบที่ช่วงของ Tip Speed ของ Rotor โดยทั่วไปจะไม่ทำกว่า 30 m/sec และ ไม่เกิน 50 m/sec จากประสบกาณ์และข้อจำกัดของความเร็วรอบของมอเตอร์ที่ใช้งานนั่นเองครับ

Next